ทำไมพระอาทิตย์ตกถึงเป็นสีแดง

พระอาทิตย์ขึ้นและพระอาทิตย์ตกเป็นปรากฏการณ์ทางธรรมชาติที่สวยงามที่เกิดขึ้นและเราสามารถเห็นได้ในทุกๆ วัน แต่คุณเคยสงสัยไหมว่าอะไรที่ทำให้ท้องฟ้าเปลี่ยนสีสีแดงหรือส้มในช่วงเวลานี้ เอาละวันนี้เรามาหาคำตอบกัน เกี่ยวกับแสงที่เรามองเห็น ก่อนอื่นมาทำความเข้าใจกันก่อนว่าเราเห็นสีต่างๆ ได้อย่างไร แสงเดินทางจากดวงอาทิตย์ผ่านชั้นบรรยากาศของโลกในรูปของคลื่นมายังดวงตาของเรา แสงที่เรามองเห็นว่าเป็นสีขาวนั้นจริงๆ แล้วมันประกอบไปด้วยหลายสีที่มีความยาวคลื่นที่แตกต่างกัน ยกตัวอย่างเช่น แสงสีฟ้าและสีม่วงมีความยาวคลื่นน้อยที่สุด ในขณะที่แสงสีแดงมีความยาวคลื่นมากที่สุด ทำไมพระอาทิตย์ตกจึงเป็นสีแดงหรือส้ม ในช่วงที่พระอาทิตย์ขึ้นและพระอาทิตย์ตกนั้นดวงอาทิตย์อยู่ในระดับต่ำของท้องฟ้า นั่นทำให้แสงเดินทางผ่านชั้นบรรยากาศของโลกมายังตาของเรามีระยะทางมากกว่า และเนื่องจากแสงสีฟ้าที่ความยาวคลื่นที่สั้นกว่าทำให้มันหักเหได้ง่ายกว่าเมื่อเดินทางผ่านชั้นบรรยากาศ ด้วยเหตุนี้ทำให้แสงสีฟ้าถูกหักเหและกระจายออกไปยังทิศทางอื่นๆ และทำให้เหลืิอเพียงแสงที่มีความยาวคลื่นที่ยาวกว่าที่เหลืออยู่และเดินทางมาถึงดวงตาของเรา และนี่จึงเป็นเหตุผลที่ทำให้เราเห็นพระอาทิตย์ตกจึงเป็นสีแดงหรือส้มนั่นเอง จากรูปจะเห็นว่าในตอนเที่ยงแสงเดินทางผ่านชั้นบรรยากาศในระยะทางที่สั้นกว่าทำให้แสงส่วนมากยังไม่ทันได้หักเหก็เดินทางมาถึงตาเรา ในขณะที่ตอนพระอาทิตย์ตกระยะทางที่แสงจะต้องเดินทางผ่านชั้นบรรยากาศมายังดวงตาของเรามีมากกว่า ทำให้แสงสีฟ้ามีเวลาที่จะหักเหออกไปได้จนหมดก่อนที่เหลือเพียงแสงสีแดงและแสดงสีส้มเท่านั้นที่เดินทางมาถึงเรา

Read More

ธาตุกัมมันตรังสี ซีเซียม-137 (Cesium-137)

ซีเซียม (Cesium) มีสัญลักษณ์ทางเคมี Cs เป็นโลหะอ่อนยืดหยุ่นสีขาวที่เป็นของเหลวในอุณหภูมิห้อง แต่สามารถทำพันธะเคมีกับคลอไรด์ได้ง่ายเพื่อสร้างผงคริสตัลลีน รูปแบบกัมมันตภาพรังสีที่พบมากที่สุดของซีเซียมคือซีเซียม-137 (Cesium-137) นั้นถูกสร้างมาจากนิวเคลียร์ฟิชชั่นสำหรับใช้ในเครื่องมือแพทย์และเครื่องวัด นอกจากนี้มันยังเป็นผลพลอยที่เกิดได้จากกระบวนการนิวเคลียร์ฟิชชั่นในเครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์และการทดสอบอาวุธนิวเคลียร์ ซีเซียมในสิ่งแวดล้อม เพราะว่า Cesium-137 สามารถทำพันธะเคมีกับคลอไรด์เพื่อสร้างผงคริสตัลลีน Cesium-137 ทำปฏิกิริยากับสิ่งแวดล้อมเช่นเดียวกับเกลือแกงหรือโซเดียมคลอไรด์ ซีเซียมเคลื่อนที่ผ่านอากาศได้ง่าย ซีเซียมละลายในน้ำได้ง่าย ซีเซียมจับตัวกับดินและคอนกรีตอย่างเหนียวแน่น แต่เดินทางออกจากพื้นผิวได้ไม่ไกลมากนัก พืชและพืชผักที่เติบโตในหรือบริเวณใกล้เคียงกับดินที่มีการปนเปื้อนกับซีเซียมอาจได้รับซีเซียม-137 จำนวนเล็กน้อยจากพื้นดิน Cs-137 ในปริมาณที่เล็กน้อยสามารถพบได้ในสิ่งแวดล้อมที่ได้รับการโจมตีจากอาวุธนิวเคลียร์และจากอุบัติเหตุเครื่องปฏิกรณ์ปรมาณู แหล่งที่มาของซีเซียม Cesium-137 ได้ถูกนำมาใช้ในปริมาณเล็กน้อยในอุปกรณ์ตรวจจับรังสี เช่น เครื่องเคาน์เตอร์ไกเกอร์-มูลเลอร์ ส่วนปริมาณที่มาก …

Read More

อุณหภูมิเฉลี่ยในแต่ละเดือนของกรุงเทพ ประเทศไทย

วันนี้เราจะพากันมาดูว่าสภาพอากาศและอุณหภูมิเฉลี่ยอุณหภูมิเฉลี่ยและจำนวนวันที่ฝนตกในแต่ละเดือนสำหรับกรุงเทพ ประเทศไทยนั้นเป็นอย่างไรบ้าง มาดูกันว่าเดือนไหนอากาศร้อนที่สุดและเดือนไหนอากาศเย็นที่สุด และเดือนไหนที่ฝนตกน้อยที่สุดและมากที่สุด สภาพอากาศเฉลี่ยในแต่ละเดือน # เดือน สูงสุด/ต่ำสุด(°C) ฝนตก 1 มกราคม 32° / 22° 1 วัน 2 กุมภาพันธ์ 33° / 24° 1 วัน 3 มีนาคม 34° / 26° 2 วัน …

Read More

Million Billion และ Trillion คืออะไร

Million Billion และ Trillion นั้นเป็นหน่วยที่ใช้สำหรับนับตัวเลขขนาดใหญ่ ในบทความนี้คุณจะได้เรียนรู้เกี่ยวกับหน่วยของตัวเลขทั้งสามและความแตกต่างของมัน และนี่เป็นขนาดและความแตกต่างของหน่วยทั้งสามเมื่อเรานำมันมาเขียนลงไปในตาราง หน่วย มีค่าเท่ากับ ในรูปเลขยกกำลัง Million (ล้าน) 1,000,000 10^6 Billion (พันล้าน) 1,000,000,000 10^9 Trillion (ล้านล้าน) 1,000,000,000,000 10^12 จากในตารางจะเห็นว่า Million Billion และ Trillion มีค่าเท่ากับ หนึ่งล้าน หนึ่งพันล้าน …

Read More

ทำไมไดโนเสาร์ถึงสูญพันธุ์ การสูญพันธุ์ครั้งใหญ่จากการชนของอุกกาบาตยักษ์

เมื่อ 66 ล้านปีก่อนไดโนเสาร์ได้พบกันวันที่เลวร้ายที่สุด วันที่อุกกาบาตขนาดยักษ์พุ่งชนโลกทำให้ให้ยุคไดโนเสาร์ที่มีมาอย่างยาวนานกว่า 180 ล้านปีได้สิ้นสุดลง กว่า 75% ของสิ่งมีชีวิตบนโลกรวมทั้งไดโนเสาร์ได้ตายลงในทันที แล้วอุกกาบาตนี้ทำให้ไดโนเสาร์สูญพันธุ์ได้อย่างไรมาดูกัน ไดโนเสาร์สูญพันธุ์ได้อย่างไร ดาวเคราะห์น้อยหรืออุกกาบาตขนาดยักษ์ประมาณ 10 กิโลเมตรได้พุ่งชนโลกด้วยความเร็วสูงกว่า 20 กิโลเมตรต่อวินาที ในทันที พื้นผิวของโลกในบริเวณที่มันพุ่งชนกลายเป็นไอร้อนอย่างสมบูรณ์ และมันสร้างหลุมอุกกาบาตขนาดใหญ่ขึ้นและทำให้บริเวณพื้นที่ของการชนถูกทำลายทั้งหมด มันทำให้สสารต่างๆ ปริมาณมหาศาลได้พุ่งขึ้นไปยังชั้นบรรยากาศของโลก แรงระเบิดขนาดใหญ่และคลื่นความร้อนสูงถูกแพร่กระจายออกไปและทำให้เกิดไฟป่ากระจายออกไปทั่วทั้งโลก จากการพุ่งชนของอุกกาบาตนี้ทำให้ฝุ่นและเขม่าควันกระจายไปทั่วโลก ซึ่งทำให้ฝุ่นและเขม่าควันเหล่านั้นไปบดบังแสงจากดวงอาทิตย์ที่ส่องมายังพื้นโลกลดลงไปกว่า 80% นั่นทำให้แสงที่จะถูกส่องมายังพื้นผิวของโลกน้อยลงเป็นอย่างมาก ซึ่งนี่ได้ส่งผลต่อการเติบโตของพืช และทำให้เกิดผลกระทบเป็นลูกโซ่และทำลายห่วงโซ่อาหาร และสุดท้ายทำให้ระบบนิเวศพังพินาศโดยสิ้นเชิง ผลจากการลดลงของพืชทำให้พวกสัตว์กินพืชเป็นอาหารไม่สามารถมีชีวิตอยู่ต่อได้ …

Read More

การแปลงอุณหภูมิระหว่างองศาเซลเซียสและองศาฟาเรนไฮต์

ในบทความนี้ คุณจะได้เรียนรู้วิธีการแปลงอุณหภูมิระหว่างองศาเซลเซียสและองศาฟาเรนไฮต์และความแตกต่างของหน่วยอุณหภูมิทั้งสอง ซึ่งทั้งสองหน่วยอุณหภูมินี้เป็นหน่วยที่ใช้และพบบ่อยที่สุดในชีวิตประจำวัน นี่เป็นเนื้อหาในบทนี้ องศาเซลเซียส กับ องศาฟาเรนไฮต์ ต่างกันยังไง การแปลงจากองศาเซลเซียสเป็นองศาฟาเรนไฮต์ การแปลงจากองศาฟาเรนไฮต์เป็นองศาเซลเซียส ตารางเปรียบระหว่างองศาเซลเซียสและองศาฟาเรนไฮต์ องศาเซลเซียส กับ องศาฟาเรนไฮต์ ต่างกันยังไง องศาเซลเซียสเป็นหน่วยของอุณหภูมิในระบบเมตริกที่ใช้ในประเทศต่างๆ ทั่วโลกเป็นส่วนมาก ในขณะที่องศาฟาเรนไฮต์เป็นหน่วยของอุณหภูมิในระบบอิมพีเรียลที่ใช้กันในประเทศสหรัฐอเมริกา สิ่งที่แตกต่างกันขององศาเซลเซียส กับ องศาฟาเรนไฮต์ก็คือสเกลของตัวเลขที่ใช้บอกอุณหภูมิ ที่แสดงดังตารางต่อไปนี้ หน่วยอุณหภูมิ สัญลักษณ์ ศูนย์สัมบูรณ์ น้ำแข็งละลาย อุณหภูมิร่างกาย จุดเดือดของน้ำ องศาเซลเซียส °C …

Read More

ระบบสุริยะจักรวาล มาทำความรู้จักกับระบบสุริยะของเรา

ระบบสุริยะ (Solar system) ถูกสร้างมาจากกลุ่มของดวงดาวซึ่งมีดวงอาทิตย์เป็นจุดศูนย์กลาง ดวงอาทิตย์นั้นมีดาวเคราะห์ 8 ดวง ดวงจันทร์อีก 146 ดวง มีดาวหาง ดาวเคราะห์น้อย หินอวกาศ เศษน้ำแข็ง และดาวเคราะห์แคระอีกหลายดวง เช่น ดาวพลูโต เป็นบริวาร ดาวเคราะห์ทั้ง 8 ดวงในระบบสุริยะได้แก่ ดาวพุธ ดาวศุกร์ โลก ดาวอังคาร ดาวพฤหัสบดี ดาวเสาร์ ดาวยูเรนัส และดาวเนปจูน โดยดาวพุธเป็นดาวที่ใกล้ดวงอาทิตย์มากที่สุด …

Read More

ทำไมน้ำทะเลถึงเค็ม แล้วเกลือในน้ำทะเลมาจากไหน

วันนี้ Semih จะพาคุณมาหาคำตอบกันว่าทำไมน้ำทะเลถึงเค็ม คุณรู้หรือไม่ว่าเกลือทะเลส่วนใหญ่นั้นมาจากสองช่องทางคือหินบนบกและช่องเปิดในก้นทะเล และนั่นเป็นจุดเริ่มต้นที่ทำให้น้ำทะเลเค็ม สาเหตุแรกที่ทำให้น้ำทะเลเค็มคือเกิดจากน้ำฝนกรัดกร่อนหินบนโลก เมื่อฝนตกลงมามันได้ทำปฏิกิริยากับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในอากาศและทำให้เกิดเป็นกรดคาร์บอนิกซึ่งทำให้น้ำฝนเป็นกรดเล็กน้อย และเมื่อฝนตกใส่หินทำให้มันกรัดกร่อนหินแล้วละลายเกลือและแร่ธาตุต่างๆ บนหินออกไปทีละน้อย น้ำเหล่านี้ไหลต่อไปยังลำธาร แม่น้ำ และลงทะเลไปในที่สุด เนื่องจากทะเลเป็นแหล่งสุดท้ายที่แร่ธาติต่างๆ จะไหลไปรวมทำให้น้ำทะเลมีรสเค็มนั่นเอง ความเค็มของน้ำทะเลจะเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ เมื่อเวลาผ่านไปเนื่องจากความเข้มข้นของเกลือที่เพิ่มขึ้น สาเหตุที่สองนั้นเกิดจากช่องเปิดใต้ก้นทะเล ที่ใต้ก้นทะเลลึกนั้นน้ำสามารถซึมเข้าไปตามรอยแยกของเปลือกโลกและแผ่นหินได้ นี่จะทำให้น้ำได้รับความร้อนจากลาวาที่มาจากแกนโลกและทำให้มันมีอุณหภูมิสูงขึ้นและกลายเป็นน้ำร้อน น้ำร้อนเหล่านี้จะกรัดกร่อนหินแล้วละลายเกลือและแร่ธาติต่างๆ ในหินออกมาเช่นเดียวกัน จากนั้นมันจะไหลย้อนกลับขึ้นไปยังพื้นมหาสมุทรพร้อมกับนำเกลือและแร่ธาตุที่ถูกละลายกลับขึ้นมาด้วย เกลือทะเลและแร่ธาตุจำนวนมากในน้ำอย่างเช่น เหล็ก สังกะสี และทองแดงจะถูกนำไปใช้โดยสิ่งมีชีวิตในทะเลและถูกนำออกไปจากน้ำโดยสิ่งมีชีวิตเหล่านั้น ยกเว้นโซเดียมและคลอไรด์ที่ไม่ได้ถูกนำไปใช้จากเหล่าสิ่งมีชีวิตทำให้มันหลงเหลืออยู่เป็นจำนวนมาก และแร่ธาตุเหล่านี้เองเป็นส่วนประกอบหลักของเกลือที่เรานำมาใช้ทำอาหารในชีวิตประจำวันเพื่อปรุงให้อาหารมีรสเค็ม คุณเคยได้ยินเกี่ยวกับการทำนาเกลือไหม? โดยเฉลี่ยแล้วน้ำทะเลจะมีเกลืออยู่ประมาณ …

Read More

ทำไมดาวเทียมถึงโคจรรอบโลกโดยที่ไม่ตกลงมาหรือหลุดออกไปจากโลก

เคยสงสัยไหมว่าทำไมดาวเทียมถึงโคจรรอบโลกได้โดยที่ไม่ตกจากฟ้า แน่นอนว่าคุณไม่ได้เป็นเพียงคนเดียวที่คิดเช่นนั้น แต่นี่เป็นคำถามที่ถูกถามกันมากสุด และวันนี่้เราจะมาดูกันว่าทำไมจึงเป็นแบบนั้นและดาวเทียมมีหลักการทำงานอย่างไร ดาวเทียมโคจรรอบโลกได้อย่างไร ดาวเทียมสามารถโคจรรอบโลกในวงโคจรได้เพราะมันถูกล็อคให้เดินทางในความเร็วที่เพียงพอที่จะเอาชนะแรงโน้มถ่วงของโลกเพื่อไม่ให้ตกลงไปบนพื้นโลก ดาวเทียมนั้นถูกส่งขึ้นไปโดยจรวดที่ปล่อยออกจากพื้นโลกด้วยพลังงานที่เพียงพอทีจะสามารถหลุดออกจากชั้นบรรยากาศของโลกได้ และเมื่อจรวดได้เดินทางถึงระดับความสูงที่กำหนด มันก็ปล่อยดาวเทียมออกไปยังวงโคจรของดาวเทียม โดยความเร็วเริ่มต้นที่ดาวเทียมถูกปล่อยออกจากจรวดนั้นเพียงพอที่จะทำให้ดาวเทียมสามารถโคจรได้อยู่นับร้อยปี ดาวเทียมสามารถที่จะรักษาสมดุลในวงโคจรของมันเอาไว้ได้ด้วยสองปัจจัยคือ ความเร็วเส้นตรงที่ใช้ในการโคจรและแรงดึงดูดของโลกที่มีต่อดาวเทียม ยิ่งดาวเทียมโคจรใกล้โลกมากเท่าไรมันก็จะต้องใช้ความเร็วในการโคจรเร็วขึ้นเท่านั้น นี่ก็เพื่อต้านทางแรงดึงดูดของโลกและรักษาสมดุลเอาไว้นั่นเอง ดาวเทียมก็มีการบรรทุกและเก็บเชื้อเพลิงเพื่อเอาไว้ใช้งานเช่นกัน แต่การใช้งานเชื้อเพลิงของดาวเทียมไม่ได้มีไว้สำหรับควบคุมความเร็วในการโคจร แต่มันมีไว้สำหรับเปลี่ยนทิศทางการโคจรและเพื่อหลีกเลี่ยงการชนกับเศษซากที่ล่องลอยอยู่ในวงโคจรเป็นหลัก ทำไมดาวเทียมถึงไม่ชนกันเอง ดาวเทียมสามารถชนกันเองได้ แต่การชนนั้นเกิดขึ้นได้ยากมากเนื่องจากการปล่อยดาวเทียมในแต่ละครั้งจะถูกปล่อยในจุดที่ห่างจากดาวเทียมดวงอื่นๆ แต่อย่างไรก็ตาม วงโคจรของดาวเทียมนั้นสามารถเปลี่ยนแปลงได้ตลอดเวลาเมื่อระยะเวลาผ่านไป และโอกาสที่จะทำให้ดาวเทียมชนกันได้มากขึ้นก็คือเมื่อมีการปล่อยดาวเทียมใหม่ขึ้นไปในวงโคจรเพิ่มมากขึ้นนั่นเอง ในเดือนกุมภาพันธ์ปี 2009 ดาวเทียมสื่อสารสองดวงของประเทศอเมริกาและประเทศรัสเซียได้เกิดการชนกันขึ้น อย่างไรก็ตาม นี่เป็นการสันนิษฐานว่าน่าจะเป็นการชนกันครั้งแรกโดยบังเอิญของดาวเทียมที่มนุษย์สร้างขึ้น ดาวเทียมสามารถอยู่ในวงโคจรได้นานแค่ไหน ดาวเทียมสามารถประคองตัวเองให้อยู่ในวงโคจรได้นานมากๆ …

Read More

ปีแสงคืออะไร มาดูกันว่า 1 ปีแสงหมายความว่าอย่างไร

ปีแสงคืออะไร ปีแสง (Light-year) คือหน่วยวัดของความยาวที่ใช้ในการวัดระยะทางทางดาราศาสตร์ซึ่งเป็นระยะทางที่ไกลมาก และมันมีระยะทางเป็น 9.46 ล้านล้านกิโลเมตร (9.46 x 10^12 กิโลเมตร) ปีแสงนั้นกำหนดโดยสหภาพดาราศาสตร์สากล (IAU) โดยให้คำนิยามไว้ว่า ปีแสง คือระยะทางที่แสงเดินทางในสุญญากาศในหนึ่งปีจูเลียน (365.25 วัน) เนื่องจากว่ามันมีคำว่าปี ดังนั้นในบางครั้งมันถูกตีความและเข้าใจผิดว่าเป็นหน่วยของเวลา จากการกำหนดโดยสหภาพดาราศาสตร์สากลนั้นจะเห็นได้ว่า ปีแสงนั้นเป็นผลของการคูณระหว่าง ปีแบบจูเลียน (365.25 วัน ในขณะที่ปีแบบเกรกอเรียนนั้นมี 365.2425 วัน) กับความเร็วของแสง (299,792,458 …

Read More