ทำไมไดโนเสาร์ถึงสูญพันธุ์ การสูญพันธุ์ครั้งใหญ่จากการชนของอุกกาบาตยักษ์

การชนของดาวเคราะห์น้อยชิกซูลูบ โดย David A. Hardy/science

เมื่อ 66 ล้านปีก่อนไดโนเสาร์ได้พบกันวันที่เลวร้ายที่สุด วันที่อุกกาบาตขนาดยักษ์พุ่งชนโลกทำให้ให้ยุคไดโนเสาร์ที่มีมาอย่างยาวนานกว่า 180 ล้านปีได้สิ้นสุดลง กว่า 75% ของสิ่งมีชีวิตบนโลกรวมทั้งไดโนเสาร์ได้ตายลงในทันที แล้วอุกกาบาตนี้ทำให้ไดโนเสาร์สูญพันธุ์ได้อย่างไรมาดูกัน

ไดโนเสาร์สูญพันธุ์ได้อย่างไร

ภาพจำลองของไดโนเสาร์ในวันที่อุกกาบาตพุ่งชนโลก

ดาวเคราะห์น้อยหรืออุกกาบาตขนาดยักษ์ประมาณ 10 กิโลเมตรได้พุ่งชนโลกด้วยความเร็วสูงกว่า 20 กิโลเมตรต่อวินาที ในทันที พื้นผิวของโลกในบริเวณที่มันพุ่งชนกลายเป็นไอร้อนอย่างสมบูรณ์ และมันสร้างหลุมอุกกาบาตขนาดใหญ่ขึ้นและทำให้บริเวณพื้นที่ของการชนถูกทำลายทั้งหมด มันทำให้สสารต่างๆ ปริมาณมหาศาลได้พุ่งขึ้นไปยังชั้นบรรยากาศของโลก แรงระเบิดขนาดใหญ่และคลื่นความร้อนสูงถูกแพร่กระจายออกไปและทำให้เกิดไฟป่ากระจายออกไปทั่วทั้งโลก

จากการพุ่งชนของอุกกาบาตนี้ทำให้ฝุ่นและเขม่าควันกระจายไปทั่วโลก ซึ่งทำให้ฝุ่นและเขม่าควันเหล่านั้นไปบดบังแสงจากดวงอาทิตย์ที่ส่องมายังพื้นโลกลดลงไปกว่า 80% นั่นทำให้แสงที่จะถูกส่องมายังพื้นผิวของโลกน้อยลงเป็นอย่างมาก ซึ่งนี่ได้ส่งผลต่อการเติบโตของพืช และทำให้เกิดผลกระทบเป็นลูกโซ่และทำลายห่วงโซ่อาหาร และสุดท้ายทำให้ระบบนิเวศพังพินาศโดยสิ้นเชิง

การพุ่งชนทำให้เกิดการพุ่งของสสารกระจายขึ้นไปยังชั้นบรรยากาศโลก

ผลจากการลดลงของพืชทำให้พวกสัตว์กินพืชเป็นอาหารไม่สามารถมีชีวิตอยู่ต่อได้ นี่ส่งผลโดยตรงต่อไปยังสัตว์ที่กินเนื้อเป็นอาหารก็ได้รับผลกระทบจากการมีอาหารน้อยลงเช่นเดียวกัน นั่นหมายความว่าสัตว์ที่เหลือรอดจากตอนที่อุกกาบาติพุ่งชนก็ได้ตายลงจากการขาดอาหารนั่นเอง

อย่างไรก็ตาม ได้มีข้อสมมติฐานต่างๆ มากมายว่าจริงๆ แล้ววิธีการที่สูญพันธุ์ที่แท้จริงนั้นเป็นยังไงและมันใช้ระยะเวลานานแค่ไหน และแน่นอนว่ายังมีหลายอย่างที่เราไม่รู้อีกมาก แต่มันเป็นเหตุการณ์สำคัญที่ส่งผลกระทบต่อทุกชีวิตบนโลกในบี้ตั้งแต่จุลินทรีย์ไปจนถึงไดโนเสาร์ และส่งผลให้เกิดโลกในยุคปัจจุบันให้ขึ้นมา

เกี่ยวกับอุกกาบาตยักษ์ที่พุ่งชนโลก

รูปภาพจำลองดาวเคราะห์น้อยชิกซูลูบก่อนปะทะโลก
ชื่ออุกกาบาตชิกซูลูบ (Chicxulub)
เส้นผ่านศูนย์กลาง10 กิโลเมตร
ความเร็วในการพุ่งชน20 กิโลเมตรต่อวินาที
พลังงานจากการชน100,000 กิกะตัน TNT
วันที่พุ่งชนประมาณ 66 ล้านปีที่แล้ว

ความเร็วของดาวเคราะห์น้อยหรืออุกกาบาตชิกซูลูบ (Chicxulub) ในตอนพุ่งชนโลกอยู่ที่ประมาณ 20 กิโลเมตรต่อวินาที หรือ 72,000 กิโลเมตรต่อชั่วโมง เร็วกว่าเครื่องบินโดยสารประมาณ 72 เท่า นี่ทำให้เกิดพลังงานจลน์จากการพุ่งชนประมาณ 100,000 กิกะตัน TNT หรือ 420,000 EJ การพุ่งชนทำให้เกิดลมร้อนพุ่งออกไปจากจุดศูนย์กลางด้วยความเร็ว 1,000 กิโลเมตรต่อชั่วโมง และทำให้เกิดหลุมขนาดยักษ์ที่มีความกว้างกว่า 30 กิโลเมตรและความลึกกว่า 10 กิโลเมตร ที่ในปัจจุบันได้พังทลายลงมาแล้ว

ภาพเปรียบเทียบระหว่างยอดเขาเอเวอเรสต์และอุกกาบาตชิกซูลูบ

นอกจากนี้การพุ่งชนยังทำให้เกิดสึนามิขนาดยักษ์สูงกว่า 100 เมตรกระจายออกทุกทิศทางและในจุดที่กระทบโดยตรงน่าจะมีความสูงมากถึง 1.5 กิโลเมตรเลยทีเดียว โดยความยาวเฉลี่ยของคลื่นน้ำที่กระจายออกไปทั่วโลกนั้นมีความยาวเฉลี่ยประมาณ 600 เมตรและความสูงประมาณ 20 เมตร การพุ่งชนทำให้เกิดแผ่นดินไหวในทันทีประมาณ 9–11 Mw และไกลแรงสั่นสะเทื่อนนี้ส่งออกไปกว่า 6000 กิโลเมตร

ฝุ่นเถ้าและไอน้ำร้อนได้พุ่งกระจายออกจากจุดที่พุ่งชน ซึ่งมีมากกว่า 25 ล้านล้านเมตริกตันของสสารที่พุ่งขึ้นมา โดยมีบางส่วนพุ่งออกจากชั้นบรรยากาศของโลกและกระจายไปในอวกาศในระบบสุริยะและที่เหลือก็ตกลงมาบนพื้นโลก และทำให้เกิดสะเกิดอุกาบาตที่ร้อนเป็นไฟตกกระจายลงมากมายทำให้พื้นดินลุกเป็นไฟ

ปล่องภูเขาไฟชิกซูลูบที่เกิดจากการพุ่งชน

ปล่องภูเขาไฟชิกซูลูบในปัจจุบันใกล้ชายฝั่งของประเทศเม็กซิโก

การพุ่งชนของดาวเคราะห์น้อยทำให้เกิดหลุมขนาดยักษ์ที่มีความกว้างกว่า 30 กิโลเมตรและมีความลึกกว่า 10 กิโลเมตร และในปัจจุบันมันได้กลายเป็นปล่องภูเขาไฟชิกซูลูบ (Chicxulub) ตั้งอยู่ที่คาบสมุทรยูกาตัง (Yucatán Peninsula) ในประเทศเม็กซิโก ที่มีจุดศูนย์กลางติดริมชายฝั่งของชุมชนชิกซูลูบ มันก่อตัวขึ้นเมื่อ 66 ล้านปีก่อนเมื่อดาวเคราะห์น้อยที่มีเส้นผ่าศูนย์กลางกว่า 10 กิโลเมตรได้พุ่งชนโลก โดยปล่องภูเขาไฟมีเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 180 กิโลเมตรและลึก 20 กิโลเมตร มันเป็นโครงสร้างที่เกิดจากการชนที่ได้รับการยืนยันว่าใหญ่เป็นอันดับสองของโลก

Antonio Camargo และ Glen Penfield นักธรณีฟิสิกส์ผู้ค้นพบปล่องภูเขาไฟชิกซูลูบ

ปล่องภูเขาไฟได้ถูกค้นพบโดยสองนักธรณีฟิสิกส์ Antonio Camargo และ Glen Penfield ซึ่งเป็นนักสำรวจที่กำลังค้นหาปิโตเลียมบริเวณคาบสมุทรยูกาตังในช่วงปลายของ 1970s หลักฐานที่สำคัญที่บอกว่ามันเป็นการพุ่งชนของอุกกาบาตจนทำให้เกิดปล่องภูเขาไฟคือพวกเขาได้พบกับหินควอตซ์ที่ตกผลึก ความผิดปกติของแรงโน้มถ่วงในบริเวณนั้น และเทคไทต์ซึ่งเป็นวัตถุคล้ายแก้วขนาดเล็กคล้ายก้อนกรวดจากดินที่ถูกหลอมละลายจากการชนของอุกกาบาต

ที่มาและเรียบเรียงจาก:
https://www.nhm.ac.uk/discover/how-an-asteroid-caused-extinction-of-dinosaurs.html
https://en.wikipedia.org/wiki/Chicxulub_crater