ทำไมดาวเทียมถึงโคจรรอบโลกโดยที่ไม่ตกลงมาหรือหลุดออกไปจากโลก

เคยสงสัยไหมว่าทำไมดาวเทียมถึงโคจรรอบโลกได้โดยที่ไม่ตกจากฟ้า แน่นอนว่าคุณไม่ได้เป็นเพียงคนเดียวที่คิดเช่นนั้น แต่นี่เป็นคำถามที่ถูกถามกันมากสุด และวันนี่้เราจะมาดูกันว่าทำไมจึงเป็นแบบนั้นและดาวเทียมมีหลักการทำงานอย่างไร

ดาวเทียมโคจรรอบโลกได้อย่างไร

ดาวเทียมสามารถโคจรรอบโลกในวงโคจรได้เพราะมันถูกล็อคให้เดินทางในความเร็วที่เพียงพอที่จะเอาชนะแรงโน้มถ่วงของโลกเพื่อไม่ให้ตกลงไปบนพื้นโลก ดาวเทียมนั้นถูกส่งขึ้นไปโดยจรวดที่ปล่อยออกจากพื้นโลกด้วยพลังงานที่เพียงพอทีจะสามารถหลุดออกจากชั้นบรรยากาศของโลกได้ และเมื่อจรวดได้เดินทางถึงระดับความสูงที่กำหนด มันก็ปล่อยดาวเทียมออกไปยังวงโคจรของดาวเทียม โดยความเร็วเริ่มต้นที่ดาวเทียมถูกปล่อยออกจากจรวดนั้นเพียงพอที่จะทำให้ดาวเทียมสามารถโคจรได้อยู่นับร้อยปี

ดาวเทียมสามารถที่จะรักษาสมดุลในวงโคจรของมันเอาไว้ได้ด้วยสองปัจจัยคือ ความเร็วเส้นตรงที่ใช้ในการโคจรและแรงดึงดูดของโลกที่มีต่อดาวเทียม ยิ่งดาวเทียมโคจรใกล้โลกมากเท่าไรมันก็จะต้องใช้ความเร็วในการโคจรเร็วขึ้นเท่านั้น นี่ก็เพื่อต้านทางแรงดึงดูดของโลกและรักษาสมดุลเอาไว้นั่นเอง

ดาวเทียมก็มีการบรรทุกและเก็บเชื้อเพลิงเพื่อเอาไว้ใช้งานเช่นกัน แต่การใช้งานเชื้อเพลิงของดาวเทียมไม่ได้มีไว้สำหรับควบคุมความเร็วในการโคจร แต่มันมีไว้สำหรับเปลี่ยนทิศทางการโคจรและเพื่อหลีกเลี่ยงการชนกับเศษซากที่ล่องลอยอยู่ในวงโคจรเป็นหลัก

ทำไมดาวเทียมถึงไม่ชนกันเอง

ดาวเทียมสามารถชนกันเองได้ แต่การชนนั้นเกิดขึ้นได้ยากมากเนื่องจากการปล่อยดาวเทียมในแต่ละครั้งจะถูกปล่อยในจุดที่ห่างจากดาวเทียมดวงอื่นๆ แต่อย่างไรก็ตาม วงโคจรของดาวเทียมนั้นสามารถเปลี่ยนแปลงได้ตลอดเวลาเมื่อระยะเวลาผ่านไป และโอกาสที่จะทำให้ดาวเทียมชนกันได้มากขึ้นก็คือเมื่อมีการปล่อยดาวเทียมใหม่ขึ้นไปในวงโคจรเพิ่มมากขึ้นนั่นเอง

ในเดือนกุมภาพันธ์ปี 2009 ดาวเทียมสื่อสารสองดวงของประเทศอเมริกาและประเทศรัสเซียได้เกิดการชนกันขึ้น อย่างไรก็ตาม นี่เป็นการสันนิษฐานว่าน่าจะเป็นการชนกันครั้งแรกโดยบังเอิญของดาวเทียมที่มนุษย์สร้างขึ้น

ดาวเทียมสามารถอยู่ในวงโคจรได้นานแค่ไหน

ดาวเทียมสามารถประคองตัวเองให้อยู่ในวงโคจรได้นานมากๆ ยกตัวอย่างเช่น ดาวเทียม GOES-3 ขององค์การบริหารมหาสมุทรและบรรยากาศแห่งชาติ (NOAA) มีระยะเวลาการทำงานในวงโคจรมากกว่า 5 ทศวรรคหรือ 50 ปี หรือมีการเปลี่ยนประธานาธบิดีของประเทศสหรัฐถึง 5 สมัย

ดาวเทียม GOES-3 ได้ถูกปล่อยขึ้นไปในวงโคจรในวันที่ 16 มิถุนายน 1978 และในวันที่ 29 มิถุนายน 2016 หลังจากที่ทำงานผ่านไปได้ 38 ปี มันก็ได้เข้าสู่การเป็นดาวเทียมชีวิตที่สองโดยถูกดำเนินการรื้อถอนและถูกส่งออกไปยังวงโคจรสุสาน (Graveyard Orbit) ซึ่งเป็นวงโคจรที่อยู่นอกออกไปและเต็มไปด้วยเศษซากของดาวเทียมที่หมดอายุการทำงานแล้ว

วงโคจรสุสาน หรือ Graveyard Orbit ที่แสดงในรอบนอก

ในวงโคจรนี้จะใช้ความเร็วเพียงเล็กน้อยเท่านั้นในการที่ดาวเทียมจะรักษาตำแหน่งของมันเอาไว้ เนื่องจากที่ตำแหน่งนี้แรงดึงดูดของโลกนั้นเบาบางมาก ที่ดาวเทียมต้องถูกส่งมากที่นี่ก็เป็นเพราะว่าถ้าหากดาวเทียมอยู่ใกล้โลกมากเท่าเท่าไร ก็มีโอกาสที่มันจะหลุดเข้าไปยังชั้นบรรยากาศของโลกมากได้เท่านั้น และเมื่อเกิดขึ้นนี่จะทำให้เกิดแรงดึงและแรงดึงนี้เองจะทำให้ดาวเทียมสูญเสียความสมดุลในการโคจรและตกลงไปยังพื้นโลกในที่สุด