ธาตุกัมมันตรังสี ซีเซียม-137 (Cesium-137)

ซีเซียม (Cesium) มีสัญลักษณ์ทางเคมี Cs เป็นโลหะอ่อนยืดหยุ่นสีขาวที่เป็นของเหลวในอุณหภูมิห้อง แต่สามารถทำพันธะเคมีกับคลอไรด์ได้ง่ายเพื่อสร้างผงคริสตัลลีน รูปแบบกัมมันตภาพรังสีที่พบมากที่สุดของซีเซียมคือซีเซียม-137 (Cesium-137) นั้นถูกสร้างมาจากนิวเคลียร์ฟิชชั่นสำหรับใช้ในเครื่องมือแพทย์และเครื่องวัด นอกจากนี้มันยังเป็นผลพลอยที่เกิดได้จากกระบวนการนิวเคลียร์ฟิชชั่นในเครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์และการทดสอบอาวุธนิวเคลียร์

ซีเซียมในสิ่งแวดล้อม

เพราะว่า Cesium-137 สามารถทำพันธะเคมีกับคลอไรด์เพื่อสร้างผงคริสตัลลีน Cesium-137 ทำปฏิกิริยากับสิ่งแวดล้อมเช่นเดียวกับเกลือแกงหรือโซเดียมคลอไรด์

  • ซีเซียมเคลื่อนที่ผ่านอากาศได้ง่าย
  • ซีเซียมละลายในน้ำได้ง่าย
  • ซีเซียมจับตัวกับดินและคอนกรีตอย่างเหนียวแน่น แต่เดินทางออกจากพื้นผิวได้ไม่ไกลมากนัก
  • พืชและพืชผักที่เติบโตในหรือบริเวณใกล้เคียงกับดินที่มีการปนเปื้อนกับซีเซียมอาจได้รับซีเซียม-137 จำนวนเล็กน้อยจากพื้นดิน

Cs-137 ในปริมาณที่เล็กน้อยสามารถพบได้ในสิ่งแวดล้อมที่ได้รับการโจมตีจากอาวุธนิวเคลียร์และจากอุบัติเหตุเครื่องปฏิกรณ์ปรมาณู

แหล่งที่มาของซีเซียม

Cesium-137 ได้ถูกนำมาใช้ในปริมาณเล็กน้อยในอุปกรณ์ตรวจจับรังสี เช่น เครื่องเคาน์เตอร์ไกเกอร์-มูลเลอร์ ส่วนปริมาณที่มาก Cesium-137 ถูกใช้ใน

  • เครื่องฉายรังสีทางการแพทย์สำหรับรักษามะเร็ง
  • เครื่องวัดทางอุตสาหกรรมที่ตรวจจับการไหลของของเหลวผ่านท่อ
  • อุปกรณ์อุตสาหกรรมอื่นๆ ที่ใช้วัดความหนาของวัสดุ เช่น กระดาษหรือแผ่นโลหะ

ผลของซีเซียมต่อสุขภาพ

การสัมผัสกับ Cesium-137 ในปริมาณมากจากภายนอกจะทำให้เกิดการไหม้ของผิวหนัง การเจ็บป่วยจากรังสีแบบเฉียบพลันและอาจทำให้เสียชีวิตได้ การได้รับสารจำนวนมากเช่นนี้อาจมาจากการจัดการการใช้งานซีเซียม-137 ในเครื่องมือทางอุตสาหกรรมที่ไม่ถูกต้อง การระเบิดของนิวเคลียร์หรืออุบัติเหตุทางนิวเคลียร์ครั้งใหญ่ซีเซียม-137 ในปริมาณมากจะไม่พบในสิ่งแวดล้อมภายใต้สถานการณ์ปกติ

การสัมผัสกับ Cesium-137 จะเพิ่มความเสี่ยงการเป็นมะเร็งเนื่องจากมีการแผ่รังสีแกมมาที่มีความเข้มสูง การได้รับซีเซียม-137 เข้าไปในร่างกายเนื่องจากการกลืนกินหรือสูดดมจะทำให้สารกัมมันตภาพรังสีกระจายไปในเนื้อเยื่อต่างๆ ของร่างกายโดยเฉพาะเนื้อเยื่อของกล้ามเนื้อซึ่งเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดมะเร็ง