ระบบสุริยะจักรวาล มาทำความรู้จักกับระบบสุริยะของเรา

ระบบสุริยะ (Solar system) ถูกสร้างมาจากกลุ่มของดวงดาวซึ่งมีดวงอาทิตย์เป็นจุดศูนย์กลาง ดวงอาทิตย์นั้นมีดาวเคราะห์ 8 ดวง ดวงจันทร์อีก 146 ดวง มีดาวหาง ดาวเคราะห์น้อย หินอวกาศ เศษน้ำแข็ง และดาวเคราะห์แคระอีกหลายดวง เช่น ดาวพลูโต เป็นบริวาร ดาวเคราะห์ทั้ง 8 ดวงในระบบสุริยะได้แก่ ดาวพุธ ดาวศุกร์ โลก ดาวอังคาร ดาวพฤหัสบดี ดาวเสาร์ ดาวยูเรนัส และดาวเนปจูน โดยดาวพุธเป็นดาวที่ใกล้ดวงอาทิตย์มากที่สุด …

Read More

ทำไมน้ำทะเลถึงเค็ม แล้วเกลือในน้ำทะเลมาจากไหน

วันนี้ Semih จะพาคุณมาหาคำตอบกันว่าทำไมน้ำทะเลถึงเค็ม คุณรู้หรือไม่ว่าเกลือทะเลส่วนใหญ่นั้นมาจากสองช่องทางคือหินบนบกและช่องเปิดในก้นทะเล และนั่นเป็นจุดเริ่มต้นที่ทำให้น้ำทะเลเค็ม สาเหตุแรกที่ทำให้น้ำทะเลเค็มคือเกิดจากน้ำฝนกรัดกร่อนหินบนโลก เมื่อฝนตกลงมามันได้ทำปฏิกิริยากับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในอากาศและทำให้เกิดเป็นกรดคาร์บอนิกซึ่งทำให้น้ำฝนเป็นกรดเล็กน้อย และเมื่อฝนตกใส่หินทำให้มันกรัดกร่อนหินแล้วละลายเกลือและแร่ธาตุต่างๆ บนหินออกไปทีละน้อย น้ำเหล่านี้ไหลต่อไปยังลำธาร แม่น้ำ และลงทะเลไปในที่สุด เนื่องจากทะเลเป็นแหล่งสุดท้ายที่แร่ธาติต่างๆ จะไหลไปรวมทำให้น้ำทะเลมีรสเค็มนั่นเอง ความเค็มของน้ำทะเลจะเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ เมื่อเวลาผ่านไปเนื่องจากความเข้มข้นของเกลือที่เพิ่มขึ้น สาเหตุที่สองนั้นเกิดจากช่องเปิดใต้ก้นทะเล ที่ใต้ก้นทะเลลึกนั้นน้ำสามารถซึมเข้าไปตามรอยแยกของเปลือกโลกและแผ่นหินได้ นี่จะทำให้น้ำได้รับความร้อนจากลาวาที่มาจากแกนโลกและทำให้มันมีอุณหภูมิสูงขึ้นและกลายเป็นน้ำร้อน น้ำร้อนเหล่านี้จะกรัดกร่อนหินแล้วละลายเกลือและแร่ธาติต่างๆ ในหินออกมาเช่นเดียวกัน จากนั้นมันจะไหลย้อนกลับขึ้นไปยังพื้นมหาสมุทรพร้อมกับนำเกลือและแร่ธาตุที่ถูกละลายกลับขึ้นมาด้วย เกลือทะเลและแร่ธาตุจำนวนมากในน้ำอย่างเช่น เหล็ก สังกะสี และทองแดงจะถูกนำไปใช้โดยสิ่งมีชีวิตในทะเลและถูกนำออกไปจากน้ำโดยสิ่งมีชีวิตเหล่านั้น ยกเว้นโซเดียมและคลอไรด์ที่ไม่ได้ถูกนำไปใช้จากเหล่าสิ่งมีชีวิตทำให้มันหลงเหลืออยู่เป็นจำนวนมาก และแร่ธาตุเหล่านี้เองเป็นส่วนประกอบหลักของเกลือที่เรานำมาใช้ทำอาหารในชีวิตประจำวันเพื่อปรุงให้อาหารมีรสเค็ม คุณเคยได้ยินเกี่ยวกับการทำนาเกลือไหม? โดยเฉลี่ยแล้วน้ำทะเลจะมีเกลืออยู่ประมาณ …

Read More

ทำไมดาวเทียมถึงโคจรรอบโลกโดยที่ไม่ตกลงมาหรือหลุดออกไปจากโลก

เคยสงสัยไหมว่าทำไมดาวเทียมถึงโคจรรอบโลกได้โดยที่ไม่ตกจากฟ้า แน่นอนว่าคุณไม่ได้เป็นเพียงคนเดียวที่คิดเช่นนั้น แต่นี่เป็นคำถามที่ถูกถามกันมากสุด และวันนี่้เราจะมาดูกันว่าทำไมจึงเป็นแบบนั้นและดาวเทียมมีหลักการทำงานอย่างไร ดาวเทียมโคจรรอบโลกได้อย่างไร ดาวเทียมสามารถโคจรรอบโลกในวงโคจรได้เพราะมันถูกล็อคให้เดินทางในความเร็วที่เพียงพอที่จะเอาชนะแรงโน้มถ่วงของโลกเพื่อไม่ให้ตกลงไปบนพื้นโลก ดาวเทียมนั้นถูกส่งขึ้นไปโดยจรวดที่ปล่อยออกจากพื้นโลกด้วยพลังงานที่เพียงพอทีจะสามารถหลุดออกจากชั้นบรรยากาศของโลกได้ และเมื่อจรวดได้เดินทางถึงระดับความสูงที่กำหนด มันก็ปล่อยดาวเทียมออกไปยังวงโคจรของดาวเทียม โดยความเร็วเริ่มต้นที่ดาวเทียมถูกปล่อยออกจากจรวดนั้นเพียงพอที่จะทำให้ดาวเทียมสามารถโคจรได้อยู่นับร้อยปี ดาวเทียมสามารถที่จะรักษาสมดุลในวงโคจรของมันเอาไว้ได้ด้วยสองปัจจัยคือ ความเร็วเส้นตรงที่ใช้ในการโคจรและแรงดึงดูดของโลกที่มีต่อดาวเทียม ยิ่งดาวเทียมโคจรใกล้โลกมากเท่าไรมันก็จะต้องใช้ความเร็วในการโคจรเร็วขึ้นเท่านั้น นี่ก็เพื่อต้านทางแรงดึงดูดของโลกและรักษาสมดุลเอาไว้นั่นเอง ดาวเทียมก็มีการบรรทุกและเก็บเชื้อเพลิงเพื่อเอาไว้ใช้งานเช่นกัน แต่การใช้งานเชื้อเพลิงของดาวเทียมไม่ได้มีไว้สำหรับควบคุมความเร็วในการโคจร แต่มันมีไว้สำหรับเปลี่ยนทิศทางการโคจรและเพื่อหลีกเลี่ยงการชนกับเศษซากที่ล่องลอยอยู่ในวงโคจรเป็นหลัก ทำไมดาวเทียมถึงไม่ชนกันเอง ดาวเทียมสามารถชนกันเองได้ แต่การชนนั้นเกิดขึ้นได้ยากมากเนื่องจากการปล่อยดาวเทียมในแต่ละครั้งจะถูกปล่อยในจุดที่ห่างจากดาวเทียมดวงอื่นๆ แต่อย่างไรก็ตาม วงโคจรของดาวเทียมนั้นสามารถเปลี่ยนแปลงได้ตลอดเวลาเมื่อระยะเวลาผ่านไป และโอกาสที่จะทำให้ดาวเทียมชนกันได้มากขึ้นก็คือเมื่อมีการปล่อยดาวเทียมใหม่ขึ้นไปในวงโคจรเพิ่มมากขึ้นนั่นเอง ในเดือนกุมภาพันธ์ปี 2009 ดาวเทียมสื่อสารสองดวงของประเทศอเมริกาและประเทศรัสเซียได้เกิดการชนกันขึ้น อย่างไรก็ตาม นี่เป็นการสันนิษฐานว่าน่าจะเป็นการชนกันครั้งแรกโดยบังเอิญของดาวเทียมที่มนุษย์สร้างขึ้น ดาวเทียมสามารถอยู่ในวงโคจรได้นานแค่ไหน ดาวเทียมสามารถประคองตัวเองให้อยู่ในวงโคจรได้นานมากๆ …

Read More

วิธีการเช็คประวัติการโทรเข้า-โทรออก AIS ย้อนหลังง่ายๆ เพียงไม่กี่ขั้นตอน

ในบทความนี้ เราจะมาแนะนำวิธีการดูประวัติการโทรเข้า-โทรออกย้อนหลังสำหรับผู้ที่ใช้มือถือเครือข่าย AIS ผ่านแอพ myAIS ซึ่งจะมีประโยชน์สำหรับคนที่ประวัติในโทรศัพท์หายหรือถูกลบไปแล้วและยังต้องการดูประวัติการโทรอยู่ ตัวอย่างนี้สามารถทำตามได้ทั้ง iOS และแอนดรอยด์ และนี่เป็นขั้นตอนการเช็คประวัติการโทรเข้า-โทรออก AIS ง่ายๆ เพียงไม่กี่ขั้นตอน 1. ดาวโหลดแอพ myAIS ลงในมือถือของคุณก่อนและล็อกอินเข้าแอพให้เรียบร้อย (หากมีแล้วสามารถข้ามขั้นตอนนี้ไปได้) 2. เปิดแอพขึ้นมาและไปที่แท็บ การใช้งาน ให้เลื่อนลงมาที่รายการบิลย้อนหลังและคลิกที่ ดูรายละเอียด 3. เลือกรอบบิลที่ต้องการดูประวัติการโทร และคลิกที่ ดูรายละเอียด อีกครั้งสำหรับบิลดังกล่าว 4. จากนั้นคลิกที่ …

Read More