ในบทความนี้ Semih จะมาคุณมาทำความรู้จักกับตัวเลขโรมัน (Roman numerals) ซึ่งเป็นระบบของตัวเลขที่ถือกำเนิดขึ้นในยุคโรมโบราณที่ยังคงมีการใช้งานอยู่ในปัจจุบัน และมันยังเป็นระบบตัวเลขที่น่าสนใจที่ควรศึกษาเอาไว้
- ตัวเลขโรมันคืออะไร
- การเขียนตัวเลขโรมัน
- ตารางเลขโรมัน 1-100
- การใช้งานตัวเลขโรมันในปัจจุบัน
- ตัวแปลงเลขโรมัน
ตัวเลขโรมันคืออะไร
ตัวเลขโรมันหรือเลขโรมัน (Roman numerals) คือระบบของตัวเลขที่ถือกำหนดขึ้นในยุคโรมโบราณและที่ใช้ในแถบยุโรปไปจนถึงยุคกลางตอนปลาย ตัวเลขในระบบเลขโรมันแสดงด้วยการรวมกันของตัวอักษรภาษาละติน ปัจจุบันตัวเลขโรมันยังคงมีการใช้งานอยู่บ้าง เช่น บนนาฬิกา หรือเลขหน้าของหนังสือ หรือการแสดงวันที่หรือวันเกิดในเลขโรมัน
สำหรับตัวอักษรที่ใช้แสดงตัวเลขโรมันจะประกอบไปด้วย 7 ตัวอักษร ซึ่งแต่ละตัวเป็นค่าคงที่ของจำนวนเต็มได้แก่
- I มีค่าเท่ากับ 1
- V มีค่าเท่ากับ 5
- X มีค่าเท่ากับ 10
- L มีค่าเท่ากับ 50
- C มีค่าเท่ากับ 100
- D มีค่าเท่ากับ 500
- และ M มีค่าเท่ากับ 1000
เนื่องจากตัวเลขโรมันในรูปแบบมาตฐานนั้นใช้ตัวอักษรเพียง 7 ตัวสำหรับแสดงตัวเลข ดังนั้นตัวเลขที่ใหญ่ที่สุดที่สามารถเขียนได้ในตัวเลขโรมันคือ 3999 หรือ MMMCMXCIX นี่เป็นที่ยอมรับได้ในสมัยก่อนเนื่องจากยังไม่มีการนับตัวเลขในจำนวนที่มาก
และนี่เองเป็นจุดอ่อนของตัวเลขโรมันที่ทำให้มันถูกแทนที่ด้วยตัวเลขอารบิกในที่สุด เนื่องจากตัวเลขอารบิกนั้นสามารถเขียนในจำนวนที่มากกว่าได้และไม่จำกัด และในระบบของตัวเลขโรมันนั้นไม่มีศูนย์ (0) หรือจำนวนเต็มลบ
การเขียนตัวเลขโรมัน
ในการเขียนตัวเลขโรมันนั้นสามารถทำได้หลายรูปแบบ แต่รูปแบบที่นิยมใช้กันมากที่สุดคือการเขียนในรูปแบบมาตรฐาน (Standard form) ที่ใช้ทั้งการบวกและการลบกันของตัวอักษร นี่เป็นตัวอย่างการเขียนตัวเลขอาราบิกเป็นเลขโรมันจาก 1-10
ตัวเลขอารบิก | ตัวเลขโรมัน | เขียนด้วยวิธีการ |
---|---|---|
1 | I | การบวก |
2 | II | การบวก |
3 | III | การบวก |
4 | IV | การลบ |
5 | V | การบวก |
6 | VI | การบวก |
7 | VII | การบวก |
8 | VIII | การบวก |
9 | IX | การลบ |
10 | X | การบวก |
จากในตารางเป็นการเขียนตัวเลขโรมันจาก 1-10 และจะเห็นว่ารูปแบบการเขียนจะใช้ทั้งการบวกและการลบ เนื่องจากตัวอักษรแต่ละตัวแทนด้วยค่าคงที่ในจำนวนเต็ม ดังนั้นเพื่อเขียน 3 ในตัวเลขโรมัน เราใช้ตัวอักษร III นั่นหมายความว่าเป็นการนำค่าคงที่ของตัวอักษรนี้มาบวกกันจะได้
III -> I + I + I -> 1 + 1 + 1 -> 3
และเช่นเดียวกันกับ 6 เพื่อเขียน 6 ในตัวเลขโนมัน เราจะใช้ตัวอักษา VI ซึ่งแสดงขึ้นตอนการแปลงจะได้
VI -> V + I -> 5 + 1 -> 6
มาดูตัวเลขอื่นที่มีค่ามากกว่า 10 มาเขียน 87 ในตัวเลขโรมัน จะได้
LXXXVII -> L + X +X +X + V + I + I -> 50 + 10 + 10 + 10 + 5 + 1 + 1 = 87
การเขียนในรูปแบบนี้เป็นรูปแบบพื้นฐานที่ใช้การบวกกันของค่าคงที่ในตัวอักษรเพื่อแสดงตัวเลขในระบบของตัวเลขโรมัน โดยตัวอักษรที่มีค่ามากกว่าจะถูกเขียนทางด้านซ้าย
อย่างไรก็ตาม การเขียนตัวเลขโรมันในรูปแบบมาตฐานยังสามารถเขียนในรูปแบบการลบกันของตัวอักษรได้ และเพื่อเขียน 4 ในเลขโรมัน เราใช้วิธีการเขียนด้วยการลบแทนการบวก นั่นจะได้
IV -> I – V -> 5 – 1 -> 4
ในกรณีนี้เมื่อตัวอักษรที่น้อยกว่าอยู่ทางด้านซ้ายของตัวอักษรที่มากกว่า ถือว่าเป็นการเขียนด้วยวิธีการลบกันของตัวอักษร การเขียนด้วยการลบเป็นกฏที่ใช้ในกรณีที่ตัวเลขเป็น 4, 9, 40, 90, … เป็น เนื่องจากว่ามันทำให้การเขียนสั้นลงแทนทีึ่จะเขียนเป็น IIII และแม้การทำเช่นนี้ไม่ใช่การเขียนในรูปแบบมาตฐานแต่สามารถทำได้
มาดูอีกตัวอย่างการเขียนตัวเลขโรมันโดยการใช้การลบ มาเขียน 94 ในเลขโรมันกัน จะได้
XCIV -> XC + IV -> (100 – 10) + (5 – 1) -> 90 + 4 = 94
การแปลงนั้นค่อนข้างจะซับซ้อนแต่ความจริงแล้วมันเรียบง่าย ในการเขียนเลขโรมันนั้น เราจะแยกเขียนทีละหลักและนำมารวมกัน ดังนั้น 94 จะแยกเขียนแต่ละตัวเลข 90 และ 4 โดยไม่ขึ้นต่อกัน แล้วค่อยนำมารวมกัน
XC -> X – C -> 100 – 10 -> 90
IV -> V – I -> 5 – 1 -> 4
90 ใช้การเขียนวิธีการลบจะได้ XC และ 4 ใช้วิธีการลบเช่นกันจะได้ IV เมื่อได้ตัวเลขในแต่ละหลักแล้วนำมารวมกันจะได้เป็น XCIV
ในกรณีของ 93 ก็ทำเช่นเดียวกัน แต่ 3 นั้นใช้การบวกตามกฏของตัวเลขเหมือนกับที่เราทำก่อนหน้า
XCIII -> XC + III -> (100 – 10) + 1 + 1 + 1 -> 90 + 3 = 93
สำหรับตัวอย่างสุดท้าย มาเขียนตัวเลขที่มีขนาดใหญ่ นี่เป็นการเขียนตัวเลข 1984 ในตัวเลขโรมัน
MCMLXXXIV
M + CM + LXXX + IV
1000 + (1000 – 100) + (50 + 10 + 10) + (5 – 1)
1000 + 900 + 80 + 4
1984
ในตอนนี้ คุณได้ทราบวิธีการเขียนตัวเลขโรมันแล้ว ซึ่งการเขียนในรูปแบบนี้เรียกว่ารูปแบบมาตรฐาน ที่ใช้ทั้งการบวกและการลบกันของตัวอักษรสำหรับแสดงตัวเลข สำหรับรูปแบบอื่นๆ อาจใช้การบวกเพียงอย่างเดียวหรือมีตัวอักษรที่มากกว่า 7 ตัว เพื่อรองรับตัวเลขที่มากขึ้น หรือการรองรับเศษส่วนหรือเลขฐาน แต่นั่นไม่ได้ครอบคลุมในบทเรียนนี้ และใช้งานไม่มากเท่ารูปแบบมาตรฐาน
ตารางเลขโรมัน 1-100
นี่เป็นตารางเปรียบเทียบการแปลงระหว่างเลขอารบิกและเลขโรมันจาก 1-100 สำหรับตัวเลขที่มากกว่าคุณสามารถใช้เครื่องมือแปลงนี้ได้ ตัวแปลงเลขโรมัน
เลขอารบิก | เลขโรมัน |
---|---|
1 | I |
2 | II |
3 | III |
4 | IV |
5 | V |
6 | VI |
7 | VII |
8 | VIII |
9 | IX |
10 | X |
11 | XI |
12 | XII |
13 | XIII |
14 | XIV |
15 | XV |
16 | XVI |
17 | XVII |
18 | XVIII |
19 | XIX |
20 | XX |
21 | XXI |
22 | XXII |
23 | XXIII |
24 | XXIV |
25 | XXV |
26 | XXVI |
27 | XXVII |
28 | XXVIII |
29 | XXIX |
30 | XXX |
31 | XXXI |
32 | XXXII |
33 | XXXIII |
34 | XXXIV |
35 | XXXV |
36 | XXXVI |
37 | XXXVII |
38 | XXXVIII |
39 | XXXIX |
40 | XL |
41 | XLI |
42 | XLII |
43 | XLIII |
44 | XLIV |
45 | XLV |
46 | XLVI |
47 | XLVII |
48 | XLVIII |
49 | XLIX |
50 | L |
51 | LI |
52 | LII |
53 | LIII |
54 | LIV |
55 | LV |
56 | LVI |
57 | LVII |
58 | LVIII |
59 | LIX |
60 | LX |
61 | LXI |
62 | LXII |
63 | LXIII |
64 | LXIV |
65 | LXV |
66 | LXVI |
67 | LXVII |
68 | LXVIII |
69 | LXIX |
70 | LXX |
71 | LXXI |
72 | LXXII |
73 | LXXIII |
74 | LXXIV |
75 | LXXV |
76 | LXXVI |
77 | LXXVII |
78 | LXXVIII |
79 | LXXIX |
80 | LXXX |
81 | LXXXI |
82 | LXXXII |
83 | LXXXIII |
84 | LXXXIV |
85 | LXXXV |
86 | LXXXVI |
87 | LXXXVII |
88 | LXXXVIII |
89 | LXXXIX |
90 | XC |
91 | XCI |
92 | XCII |
93 | XCIII |
94 | XCIV |
95 | XCV |
96 | XCVI |
97 | XCVII |
98 | XCVIII |
99 | XCIX |
100 | C |
การใช้งานตัวเลขโรมันในปัจจุบัน
ในช่วงศตวรรษที่ 11 ระบบตัวเลขอารบิกได้ถูกเผยแพรไปยังยุโรปและได้มีการใช้งานเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ และในปัจจุบันตัวเลขอารบิกได้กลายมาเป็นระบบของตัวเลขสากลที่ใช้กันทั่วโลก แต่อย่างไรก็ตาม ในปัจจุบันการใช้งานตัวเลขโรมันยังคงมีอยู่ในบางบริษทและสามารถพบเห็นได้ ยกตัวอย่างเช่น
- ใช้เป็นพระนามพระมหากษัตริย์ เช่น สมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2 (Elizabeth II) แห่งสหราชอาณาจักร, พระเจ้าชาร์ลที่ 4 (Charles IV) แห่งสเปน เป็นต้น
- ใช้เขียนปีในปฏิทินสาธารณรัฐฝรั่งเศส ที่มีการริเริ่มในช่วงการปฏิวัติฝรั่งเศส โดยปีได้ถูกเขียนในเลขโรมัน จากที่ปี I (ค.ศ. 1792) จนกระทั้งถึงปี XIV (ค.ศ. 1805) และก็เลิกใช้
- ใช้เขียนปีที่สร้างหน้าอาคาร ตึก และเสาหลัก
- ใช้ในการนับหน้าคำนำและการแนะนำหนังสือ และบางครั้งใช้ในหน้าภาคผนวกด้วย
- ภาคต่อของภาพยนตร์ วิดีโอเกม และงานอื่นๆ เช่น Rocky II, Grand Theft Auto V
- ใช้แสดงตัวเลขบนนาฬิกาจาก 1-12 เป็น I-XII
- ใช้เขียนวันที่หรือวันเกิดในรูปแบบของเลขโรมัน เช่น XX / VIII / MMXXI หมายถึงวันที่ 20/08/2021 ซึ่งเป็นวันที่บทความนี้ถูกเขียนขึ้น
ตัวแปลงเลขโรมัน
หลังจากเรียนรู้พื้นฐานเกี่ยวกับตัวเลขโรมันไปแล้ว สุดท้ายจะเป็นการแนะนำเครื่องมือสำหรับแปลงเลขโรมัน สำหรับอำนวยความสะดวกในการเขียนเลขโรมันอย่างรวดเร็ว
ตัวแปลงเลขโรมัน
นี่เป็นตัวเลขเลขอารบิกเป็นเลขโรมันและในทางกลับกัน
https://matteoconverter.com/converters/roman-numerals-converter
ตัวแปลงวันที่เป็นตัวเลขโรมัน
นี่เป็นตัวแปลงวันที่หรือวันเกิดเป็นเลขโรมัน
https://matteoconverter.com/converters/roman-numerals-date-converter
ในบทความนี้ คุณได้เรียนรู้เกี่ยวกับตัวเลขโรมัน เราได้พูดถึงประวัติความเป็นมาของเลขโรมัน และการเขียนตัวเลขโรมันในรูปแบบมาตฐาน และยกตัวอย่างการใช้งานตัวเลขโรมันที่ยังมีอยู่ในปัจจุบัน และนอกจากนี้เราได้แนะนำตัวแปลงเลขโรมันและตัวแปลงวันที่เป็นตัวเลขโรมันเพื่อให้คุณสามารถใช้แปลงตัวเลขของคุณได้