คำตอบคือ แสงของดวงอาทิตย์ที่ส่องมายังโลกนั้น เมื่อมาถึงชั้นบรรยากาศของโลก ได้เกิดการกระจัดกระจายออกไปในทุกทิศทาง เนื่องจากก๊าซและอนุภาคต่างๆ ที่อยู่ในอากาศ และแสงสีฟ้าก็ได้กระจายออกไปมากกว่าแสงสีอื่นๆ เพราะมันมีความยาวคลื่นที่สั้นกว่า นั่นจึงเป็นเหตุผลว่าทำไมเราเห็นท้องฟ้าเป็นสีฟ้าเกือบตลอดเวลา
คุณเคยเห็นท้องฟ้าเป็นสีฟ้าอยู่ทุกวัน
แต่คุณเคยสงสัยไหมว่าทำไม? แน่นอน คนฉลาดส่วนมากมักจะสงสัยว่าทำไม และใช้เวลานึกและหาคำตอบอยู่นาน แต่คำตอบก็ไม่ได้เรียบง่ายมากนัก มาดูกันว่าทำไม
แม้ว่าแสงจากดวงอาทิตย์ที่เราเห็นจะเป็นสีขาว แต่จริงๆ แล้วมันประกอบไปด้วยแสงของสีรุ้งทั้งเจ็ดสี ซึ่งเมื่อแสงสีขาวส่องผ่านปริซึม มันจะหักเหและจะแบ่งแยกออกเป็นสีทั้ง 7 สี โดยปริซึมนั้นจะมีลักษณะเป็นรูปทรงคล้ายกับคริสตัล
เช่นเดียวกับการเดินทางของคลื่นในมหาสมุทร พลังงานแสงก็เดินทางเป็นคลื่นเช่นเดียวกัน แสงบางสีนั้นเดินทางแบบคลื่นสั้น และแสงสีอื่นๆ เดินทางแบบคลื่นยาว และคลื่นแสงสีฟ้านั้นเดินทางได้สั้นมากกว่าคลื่นแสงสีแดง
คลื่นแสงทุกสีจะเดินทางเป็นเส้นตรงเว้นแต่ว่ามีบางอย่างขวางทางหรือยู่ในเส้นทางที่มันกำลังเดินอยู่ และทำให้เกิดเหตุการณ์ต่อไปนี้
- สะท้อนมัน (เหมือนกระจก)
- โค้งงอมัน (เหมือนปริซึม)
- หรือกระจายมัน (เหมือนโมเลกุลของก๊าซในชั้นบรรยากาศ)
แสงของดวงอาทิตย์ที่ส่องมายังโลกนั้น เมื่อมาถึงชั้นบรรยากาศของโลก ได้เกิดการกระจัดกระจายออกไปในทุกทิศทาง เนื่องจากก๊าซและอนุภาคต่างๆ ที่อยู่ในอากาศ และแสงสีฟ้าก็ได้กระจายออกไปมากกว่าแสงสีอื่นๆ เพราะมันมีความยาวคลื่นที่สั้นกว่า นั่นจึงเป็นเหตุผลว่าทำไมเราเห็นท้องฟ้าเป็นสีฟ้าเกือบตลอดเวลา
ทำไมท้องฟ้าจึงเป็นสีแดงเมื่อดวงอาทิตย์ตกดิน
ในตอนที่ดวงอาทิตย์กำลังตกดินนั้น แสงของมันผ่านชั้นบรรยากาศของโลกเข้ามาสู่ตาของเราเป็นจำนวนมาก มากไปกว่านั้น แสงสีฟ้าได้กระจัดกระจายออกไปหมด ดังนั้นจึงทำให้แสงสีแดงและสีเหลืองผ่านเข้ามาที่ตาของคุณได้มากกว่า นั่นจึงเป็นเหตุผลว่าทำไมคุณถึงเห็นท้องฟ้าเป็นสีแดงในเวลาตอนเย็น หรือตอนที่คุณมองดูดวงอาทิตย์ตกดิน
ในบางครั้งคุณจะเห็นท้องฟ้าเป็นสีแดงมากๆ นั่นก็เพราะว่าในตอนเย็นมีฝุ่นละอองและอนุภาคอื่นๆ ในอากาศเป็นจำนวนมาก นั่นทำให้แสงสีฟ้ากระจัดกระจายออกไปเกือบหมด และปล่อยให้เพียงแสงสีแดงที่ผ่านชั้นบรรยากาศของโลกมายังตาของคุณได้มากนั่นเอง