ทำไมน้ำ 1 ลิตร เท่ากับ 1 กิโลกรัม มาคลายข้อสงสัยกัน

คุณเคยสงสัยไหมว่าทำไมน้ำ 1 ลิตร ถึงมีน้ำหนักเท่ากับ 1 กิโลกรัม วันนี้ semih จะพาคุณมาคลายข้อสงสัยนี้กันว่าทำไมจึงเป็นเช่นนั้น ก่อนอื่นมาทำความเข้าใจกันก่อนว่า ความหมายของคำว่า ลิตร และกิโลกรัม นั้นแตกต่างกันอย่างไร

ลิตร (Liter) คือหน่วยวัดปริมาตร โดยปกติแล้วมักจะใช้ในการวัดปริมาตรของของเหลว แต่อย่างไรก็ตาม ทุกอย่างที่มีความจุสามารถบอกเป็นปริมาตรได้ทั้งนั้น ยกตัวอย่างเช่น

  • กล่องใบนี้มีความจุ/ปริมาตรเท่าไหร่
  • เครื่องซักผ้าเครื่องนี้บรรจุผ้าได้เท่าไหร่
  • ถังใบนี้ใส่น้ำมันได้เท่าไหร่

กิโลกรัม (Kilogram) คือหน่วยวัดของน้ำหนัก โดยมันใช้เพื่อบ่งบอกว่าวัตถุต่างๆ นั้นหนักเท่าไหร่ ยกตัวอย่างเช่น

  • น้ำหนักของชายคนนั้นเท่าไหร่
  • ลูกบอลลูกนี้หนักเท่าไหร่
  • รถยนต์คันนี้หนักเท่าไหร่

จากทั้งสองหน่วยวัดนี้เอง ลิตร ที่เป็นหน่วยวัดของปริมาตร (Volume) และกิโลกรัม ที่เป็นหน่วยวัดของมวลหรือน้ำหนัก (Mass) นั่นจึงทำให้เกิดสูตร ความหนาแน่น = มวล/ปริมาตร

d = m / v

โดย d คือความหนาแน่น มีหน่วยเป็น กิโลกรัมต่อลูกบาศก์เมตร m คือน้ำหนัก มีหน่วยเป็น กิโลกรัม และ v คือปริมาตร มีหน่วยเป็น ลูกบาศก์เมตร

และเนื่องจากของเหลวแต่ละชนิด จะมีค่าของความหนาแน่นที่แตกต่างกัน ซึ่งน้ำบริสุทธิ์จะมีความหนาแน่นที่ประมาณ 1000 กิโลกรัมต่อลูกบาศก์เมตร และเนื่องจาก 1 ลูกบาศก์เมตรเท่ากับ 1000 ลิตร นั่นจึงเป็นเหตุผลว่าทำไมน้ำ 1 ลิตร จึงเท่ากับ 1 กิโลกรัม

เพื่อให้คุณเข้าใจมากขึ้น มาดูการเปรียบเทียบระหว่างน้ำกับทองคำ ดังรูปต่อไปนี้

จากรูปภาพด้านบน สมมติว่าเรามีลูกของทองคำ และลูกของน้ำขนาดเท่ากับลูกบอลมาตรฐานเบอร์ 5 นั่นก็คือ 21.5 เซนติเมตร ซึ่งจะมีปริมาตร 6,795 ลูกบาศก์เซนติเมตร ดังนั้น เราจะหานำหนักของทองคำและน้ำ ที่มีขนาดเท่าลูกบอล จากสูตรที่เรามีคือ

d = m / v

และเนื่องจากในตอนนี้เรารู้ความหนาแน่นและปริมาตร และเราต้องการหาน้ำหนัก ทำได้เราแปลงสูตรได้เป็น

m = d × v

เนื่องจากในการคำนวณเราต้องแปลงหน่วยให้อยู่ใน SI unit ก่อน เพื่อนำไปแทนค่าลงในสูตร จะได้

ความหนาแน่นของทองคำ 19.32 g/cm3 = 19320 kg/m3
ความหนาแน่นของน้ำ 1 g/cm3 = 1000 kg/m3
ปริมาตรของทองคำและน้ำ 6795 cm3 = 0.006795 m3

คำนวณน้ำหนักของทองคำ m = 19320 kg/m3 * 0.006795 m3 = 131.2794 kg
คำนวณน้ำหนักของน้ำ m = 1000 kg/m3 * 0.006795 m3 = 6.795 kg

ดังนั้น ทองคำจะมีนำหนัก 131 กิโลกรัม และน้ำจะมีน้ำหนัก 6.78 กิโลกรัม ในปริมาตรที่เท่ากัน (เท่าลูกฟุตบอล) จะเห็นว่าทองคำมีน้ำหนักมากกว่าน้ำในปริมาตรหรือขนาดที่เท่ากัน นั่นเป็นเพราะว่าความหนาแน่นของน้ำและทองคำแตกต่างกันนั่นเอง

และนี่เป็นตารางการเปรียบเทียบความหนาแน่นและน้ำหนักของของเหลว ของแข็ง และก๊าซชนิดต่างๆ ในอุณหภูมิห้อง

สสารความหนาแน่นน้ำหนักที่ปริมาตร 1 ลูกบากศ์เมตรน้ำหนักที่ปริมาตร 1 ลิตร (1/1000)
น้ำบริสุทธิ1000 กิโลกรัมต่อลูกบาศก์เมตร1000 กิโลกรัม1 กิโลกรัม
น้ำทะเล1025 กิโลกรัมต่อลูกบาศก์เมตร1025 กิโลกรัม1.025 กิโลกรัม
น้ำมันมะกอก
800 กิโลกรัมต่อลูกบาศก์เมตร 800 กิโลกรัม0.8 กิโลกรัม
น้ำมันสน870 กิโลกรัมต่อลูกบาศก์เมตร 870 กิโลกรัม0.87 กิโลกรัม
กลูโคส1350 กิโลกรัมต่อลูกบาศก์เมตร 1350 กิโลกรัม 1.35 กิโลกรัม
ทองคำ
19320 กิโลกรัมต่อลูกบาศก์เมตร 19320 กิโลกรัม19.32 กิโลกรัม

จากตาราง จะสังเกตได้ว่าของเหลวหรือสสารต่างๆ นั้นมีความหนาแน่นที่แตกต่างกัน นั่นหมายความว่าในปริมาตรที่เท่ากัน สสารที่มีความหนาแน่นมากกว่า จะมีน้ำหนักมากกว่านั่นเอง

นั่นจึงเป็นคำตอบว่าทำไม น้ำ 1 ลิตรเท่ากับ 1 กิโลกรัม ซึ่งในความเป็นจริงแล้ว การแปลงหน่วยการวัดจากหน่วยหนึ่งไปเป็นอีกหน่วยนั้น จะสามารถทำได้ก็ต่อเมื่อมันมีสมการความสัมพันธ์ระหว่างหน่วยเหล่านี้ ยกอย่างเช่น สมการ d = m / v นี่เอง และตัวอย่างสำหรับสิ่งที่คุณไม่สามารถทำได้ก็คือ เช่น น้ำ 1 ลิตรเท่ากับกี่เมตร หรือน้ำ 1 ลิตรเท่ากับกี่วินาที เนื่องจากไม่มีสมการความสัมพันธ์ระหว่างหน่วยการวัดเหล่านี้