ในปัจจุบันนี้ ปัญหาหนึ่งสำหรับผู้ใช้งานโทรศัพท์ที่จะต้องเจอก็คือ โทรศัพท์ตกน้ำ โดนน้ำ หรือเปียกน้ำ โดนสาเหตุหลักๆ ก็คือการใช้งานใกล้กับแหล่งน้ำหรือในที่ที่มีความชื้น ถึงแม้โทรศัพท์หลายรุ่นจะโฆษณาว่าสามารถกันน้ำได้ แต่มันก็ไม่ได้สามารถกันได้ 100% เสียทีเดียว และยังเกิดปัญหาให้เห็นหลังจากที่โดนน้ำมากมาย
วันนี้ semih จะพามาคุณมาดูวิธีแก้ปัญหาเบื้องต้นด้วยตัวคุณเอง เมื่อโทรศัพท์ของคุณต้องเผชิญหน้ากับเหตุการณ์ดังกล่าว และมีการทำงานที่ผิดปกติไป อย่างไรก็ตาม ในโพสต์นี้เราจะยกตัวอย่างเป็นกรณีของ iPhone แต่ถ้าหากคุณใช้โทรศัพท์ระบบอื่น เช่น Android ก็สามารถปฏิบัติตามได้เช่นกัน
อาการหลังจากที่โทรศัพท์ของคุณโดนน้ำ
นี่เป็นอาการหลักๆ ที่จะเกิดขึ้นหลังจากที่โทรศัพท์ของคุณโดนน้ำ
- ระบบสัมผัสไม่ทำงาน หรือทำงานได้บ้างและไม่ได้บ้าง
- ไมค์หรือลำโพงไม่ดังหรือไม่สามารถทำงานได้ตามปกติ
- ระบบการทำงานของโทรศัพท์รวน เช่น หน้าจอกดเมนูต่างๆ เอง
- และอาการต่างๆ อีกมากมายที่อาจจะเกิดขึ้นได้
ก่อนจะปฏิบัติตามขั้นตอนหลังจากนี้ โปรดตรวจสอบให้แน่ใจว่าโทรศัพท์ของคุณตกน้ำไม่นาน เช่น ไม่เกิน 20 วินาที หรืออยู่ในซองกันน้ำ และไม่เกิน 3 ชั่วโมง และหลังจากนั้นโทรศัพท์ของคุณยังสามารถเปิดติดอยู่ เพียงแต่มีการทำงานที่ผิดปกติตามที่เราได้บอกไปเท่านั้น
การเตรียมอุปกรณ์สำหรับแก้ไขโทรศัพท์ตกน้ำ
อันดับแรกเรามาเตรียมอุปกรณ์กันก่อน ว่าต้องใช้อะไรบ้าง
- ข้าวสาร – ให้คุณไปซื้อข้าวสารถุงละ 1 กก. ในราคาที่แพงหน่อยประมาณ 60 บาท จาก Tesco Lotus Express หรือห้างใกล้บ้าน ที่เราแนะนำให้ซื้อ เพราะข้าวเหล่านี้คุณภาพดี และไม่มีเศษข้าวที่สามารถเข้าไปในเครื่องได้ และนอกจากนี้มันยังไม่มีความชื้นอีกด้วย เราไม่แนะนำให้คุณใช้ข้าวสารจากที่บ้าน เพราะข้าวดังกล่าวอาจจะไม่มีประสิทธิภาพที่ดีพอ และอาจจะมีความชื้นในข้าวสูง
- กล่องที่มีผาปิดมิดชิด – ให้คุณหากล่องกระทัดรัด เราแนะนำกล่องของขนม Cookie arsenal ที่หาได้ทั่วไป
- กระดาษทิชชูจำนวน 4 แผ่น
- สก๊อตเทป และกรรไกร
- พัดลม 1 เครื่อง
- โทรศัพท์ที่เปียกน้ำของคุณ
ขั้นตอนการแก้ไขหลังจากโทรศัพท์ของคุณตกน้ำด้วยข้าวสาร
ต่อไปเป็นขั้นตอนการแก้ไขปัญหาด้วยข้าวสาร เราแนะนำวิธีนี้เพราะมันเป็นวิธีที่ง่าย และหาอุปกรณ์ได้สะดวก และมันได้ผลค่อนข้างดี และโดยประสบการณ์ของ semih เอง
- หลังจากที่โทรศัพท์ของคุณตกน้ำหรือเปียกน้ำแล้ว ให้ปิดเครื่องทันที อย่างพยายามเปิดหรือเสียบสายชาร์จเป็นอันขาด
- หลังจากนั้นทำการสะบัดแรงๆ เพื่อให้น้ำในช่องลำโพง ช่องไมค์ ช่องหูฟัง หรือช่องเสียบสายชาร์จหลุดออก สะบัดหลายๆ ครั้งจนกว่าคุณจะแน่ใจว่าไม่มีน้ำกระเด็นออกมาแล้ว
- หลังจากนั้น ให้นำโทรศัพท์ไปตากพัดลมในที่ที่อากาศถ่ายเทสะดวก ประมาณ 1 – 2 ชั่วโมง เพื่อไล่ความชื้นออกไปจากโทรศัพท์เบื้องต้นก่อน
- นำกระดาษทิชชูห่อรอบโทรศัพท์ของคุณประมาณ 2 รอบ และปิดสก๊อตเทปไว้ เพื่อให้แน่ใจว่าข้าวสารจะไม่สามารถไปสัมผัสกับโทรศัพท์ของคุณได้
- ใส่ข้าวสารลงในกล่องครึ่งกล่องก่อน นำโทรศัพท์ที่พันด้วยทิชชูวางลงไป และใส่ข้าวสารที่เหลือให้เต็มกล่อง แล้วปิดฝาไว้ให้สนิท
- ทิ้งไว้ประมาณ 3 วัน เพื่อให้ข้าวสารดูดความชื้นจนหมด และหลังจากนั้น เราหวังว่าโทรศัพท์ของคุณจะกลับมาทำงานได้เป็นปกติ
สิ่งที่ไม่ควรทำหลังจากที่โทรศัพท์ของคุณตกน้ำหรือโดนน้ำ
- อย่าพยายามที่จะชาร์จโทรศัพท์ของคุณ และคุณควรปิดเครื่องทันที
- อย่านำโทรศัพท์ของคุณไปตากแดด เพราะความร้อนจากแสงแดดในประเทศไทยนั้นค่อนข้างแรง และหากเกิดความร้อนสะสมในตัวเครื่องมากๆ จะทำให้แผงวงจรภายในเสียหายได้
- อย่านำไดร์เป่าผมที่มีลมร้อนมาเป่าโทรศัพท์เป็นอันขาด เพราะความร้อนอาจทำให้แผงวงจรภายในเสียหายได้
คำถามที่พบบ่อย เกี่ยวกับการแก้ปัญหาด้วยข้าวสาร
ฉันไม่ควรทำโทรศัพท์ไปแช่ข้าวสารเมื่อโทรศัพท์ได้ตกน้ำใช่ไหม – นั่นไม่ใช่คำพูดที่ถูกต้องทั้งหมด ข้าวสารมีคุณสมบัติดูดซับน้ำได้ แต่ต้องเป็นข้าวสารที่ไร้ความชื้น นั่นเป็นเหตุผลที่เราให้คุณไปซื้อข้าวในห้าง ที่ผ่านการควบคุมความชื้นมาแล้ว
การนำโทรศัพท์ไปแช่ข้าวสาร จะทำให้แผงวงจรภายในขึ้นเชื้อราหรือไม่ – การขึ้นราของแผงวงจรภายในเกิดจากความชื้นที่ถูกกำจัดออกไม่หมดภายในเครื่อง และมีมากเกินไป อย่างที่เราได้บอกในบทความนี้ การแช่ในข้าวสารสามารถแก้ปัญหาโทรศัพท์ที่ตกน้ำเพียงไม่นานเท่านั้น โทรศัพท์ของคุณไม่ควรโดนน้ำเกิน 20 วินาที และในตอนแช่ข้าวสารเราใช้ข้าวที่มีคุณภาพ และยังห่อกระดาษทิชชูด้วย ดังนั้นจึงเป็นไปได้น้อยมากที่จะเกิดเชื้้อราบนโทรศัพท์ของคุณ
และนี่ก็เป็นเรื่องราวทั้งหมดที่เราอยากจะแบ่งปันในวันนี้ เราเขียนบทความนี้เพราะจากประสบการณ์ส่วนตัวของผู้เขียนเอง กับ iPhone 5s ที่ตกซักโครกเมื่อสองปีที่แล้ว และเราทำตามขั้นตอนดังกล่าว และมันได้ผลและยังสามารถใช้งานได้ดีจนถึงตอนนี้ และเราหวังว่าบทความนี้จะมีประโยชน์กับใครหลายคน ที่หาแนวทางการแก้ไขเบื้องต้นด้วยตัวเอง